โซล่าเซลล์ มีกี่ประเภท มีความเเตกต่างกันอย่างไร

โซล่าเซลล์ มีกี่ประเภท มีความเเตกต่างกันอย่างไร เว็บไซต์ solarcell-thailand รับติดตั้งโซล่าเซลล์ครบวงจร จะมาอธิบายเเต่ละชนิดกัน

โซล่าเซลล์ ที่เราพบเห็นกันอยู่หลายๆ เเห่งไม่ว่าจะเป็นตามอาคารสถานที่ต่างๆ โรงเรียน หรือบนหลังคาบ้าน รู้หรือไม่ว่า โซล่าเซลล์ มีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งจะมีคุณสมบัติที่เเตกต่างกันไป

โซล่าเซลล์ มีกี่ประเภท มีความเเตกต่างกันอย่างไร การเลือกใช้เเผงโซล่าเซลล์ให้เหมาะสมกับสถานที่ จึงจำเป็นต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ โดย solarcell-thailand รับติดตั้งโซล่าเซลล์ครบวงจร จะมาอธิบายถึงเเผงโซล่าเซลล์แต่ละชนิด เเต่ละประเภท ว่ามีความเเตกต่างกันอย่างไร

ปัจจุบันเเผงโซล่าเซลล์มีให้เลือกติดตั้งด้วยกัน 3 ดังนี้

1.แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

โซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ เป็นโซล่าเซลล์ที่ทำมาจาก ผลึตซิลิคอนเชิงเดี่ยว หรือ single crystaline โดยลักษณะ จะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุม เเละตัวเเผงมีสีเข้ม ซึ่งโซล่าเซลล์ชนิดนี้จะสังเกตุง่ายกว่าชนิดอื่น

ก่อนจะมาเป็นโซล่าเซลล์แบบ โมโนคริสตัลไลน์ มีขั้นตอนในการสร้าง จากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง เริ่มจากเเท่งซิลิคอนทรงกระบอก จากนั้นนำมาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยมเเละลบมุมออกทั้งสี่ด้าน เผื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งทำให้เซลล์หน้าตาเป็นอย่างที่เห็นในเเผงโซล่าเซลล์

โซล่าเซลล์ มีกี่ประเภท มีความเเตกต่างกันอย่างไร

ข้อดีของโซล่าเซลล์แบบ โมโนคริสตัลไลน์

  • มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะผลิตมาจาก ซิลิคอนเกรดดีที่สุด โดยมีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20%
  • มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่สูงสุด เพราะว่าให้กำลังสูงจึงต้องการพื้นที่น้อยที่สุดในการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์ชนิดนี้
  • สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เกือบ 4 เท่า ของชนิด ฟิล์มบางหรือ thin film
  • โมโนคริสตัลไลน์ มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 25 ปีขึ้นไป
  • โมโนคริสตัลไลน์ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากว่าชนิด โพลีคริสตัลไลน์ เมื่ออยู่ในภาวะแสงน้อย

ข้อเสียของโซล่าเซลล์แบบ โมโนคริสตัลไลน์

  • เป็นชนิดที่มีราคาแพงที่สุด ในบางครั้งการติดตั้งด้วย แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ หรือชนิด thin film อาจมีความคุ้มค่ามากกว่า
  • หากตัวเเผงโซล่าเซลล์มีความสกปรกหรือถูกบังแสงในบางส่วนของแผง อาจทำให้วงจรหรือ inverter ไหม้ได้ เพราะอาจจะทำให้เกิดโวลต์สูงเกินไป

2.แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

เป็นเเผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ เป็นแผงโซล่าเซลล์ชนิดเรกๆ ที่ถูกนำมาใช้งานก่อนผลึกซิลิคอน ซึ่งทั่วไปจะเรียกว่า โพลีคริสตัลไลน์ หรือ มัลติ-คริสตัลไลน์ โดยผ่านกระบวนการผลิต จากซิลิคอนเหลว มาเทใส่โมลด์ที่เป็นทรงสี่เหลี่ยม ก่อนจะนำมาตัดเป็นเเผ่นบาง ทำให้เซลล์แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีตัดมุม ออกสีน้ำเงินไม่เข้ม

ข้อดีของโซล่าเซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์

  • จะมีขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ง่าย ไม่ซับซ้อน จึง ใช้ปริมาณซิลิคอน ในการผลิตน้อยกว่า เมื่อเทียบกับ ชนิด โมโนคริสตัลไลน์
  • มีประสิทธิภาพในการใช้งาน ในที่อุณหภูมิสูง ดีกว่า ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ เล็กน้อย
  • มีราคาที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับ ชนิด โมโนคริสตัลไลน์

ข้อเสียของโซล่าเซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์

  • มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 13-16% ซึ่งต่ำกว่า เมื่อเทียบกับชนิด โมโนคริสตัลไลน์
  • มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำกว่า ชนิด โมโนคริสตัลไลน์
  • ตัวเเผงโซล่าเซลล์ดูไม่ค่อยสวยงาม เมื่อเทียบกับ เเผงโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ และชนิด thin film ที่มีสีเข้ม เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่า

3.แผงโซล่าเซลล์ชนิด ฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)

โซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง เป็นการนำเอาสาร ที่สามารถเเปลงพลังงาน จากเเสงเป็นกระเเสไฟฟ้าออกมาฉาบเป็นเเผ่นฟิล์มบางๆ ซ้อนกันหลายๆ ชั้น จึงมีการเรียกโซล่าเซลล์ชนิดนี้ว่า ฟิล์มบาง หรือ thin film หรือชื่อเรียกเเตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุที่นำมาใช้เช่น

  • อะมอร์ฟัส Amorphous silicon (a-Si)
  • Cadmium telluride (CdTe)
  • Copper indium gallium selenide (CIS/CIGS)
  • Organic photovoltaic cells (OPC)

โดยประสิทธิภาพของชนิดฟิล์มชนิดบาง เฉลี่ยอยู่ที่ 7-13% ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้เป็นฟิล์มฉาบ ส่วนใหญ่เเล้วมีเพียง 5% เท่านั้นที่จะใช้โซล่าเซลล์แบบฟิล์มฉากในสถานที่อย่างเช่นบ้าน

ข้อดีของโซล่าเซลล์แบบ ฟิล์มบาง

  • มีราคาถูกกว่า เพราะสามารถผลิตจำนวนมากได้ง่ายกว่า ชนิดผลึกซิลิคอน
  • ในที่ช่วงเวลาที่อากาศร้อนมากๆ แผงโซล่าเซลล์ ชนิด ฟิล์มบาง จะมีผลกระทบที่น้อยกว่า
  • หมดปัญหาเรื่องเมื่อแผงสกปรกแล้วจะทำให้วงจรไหม้
  • แผงโซล่าเซลล์ ชนิด ฟิล์มบาง เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับสถานที่ที่มีพื้นที่กว้างๆ

ข้อเสียของโซล่าเซลล์แบบ ฟิล์มบาง

  • มีประสิทธิภาพต่ำ
  • มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำ
  • สิ้นเปลืองค่าโครงสร้างและอุปกรณ์อื่นๆ เช่น สายไฟ
  • ไม่เหมาะกับหลังคาบ้านเพราะมีพื้นที่จำกัด
  • การรับประกันสั้นกว่าชนิด ผลึกซิลิคอน

ข้อมูลบางส่วนจาก www.ofm.co.th

«
»

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *